นักวิจัยพบครูผู้สอนครั้งที่ 1 โครงการต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวิภาพ

วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรสน. ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จัดโครงการ “ต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ” ณ ห้องประชุมสัตตบงกช อาคาร 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยมี ดร.บุญธรรม อ้วนกันยา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นประธานเปิดการประชุม และ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวรายงาน

การจัดโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการร่วมมือกันทางวิชาการ ระหว่างนักวิจัยกับผู้สอนในโรงเรียน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพไปสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน และเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรชาวไทยทุกฝ่ายให้มีความสามารถที่จะตอบโจทย์วิจัยภายใต้การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในภาวะวิกฤติแม่น้ำโขง โดยมีวิทยากรนักวิจัยโครงการวิจัยเครือข่ายแม่น้ำโขงฯ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ครูผู้สอนด้านชีววิทยาในโรงเรียนเครือข่ายจังหวัดสกลนคร บึงกาฬ และอุดรธานีกว่า 150 ท่าน

ซึ่งในช่วงบ่ายมีการแบ่งกลุ่มร่วมอภิปรายระหว่างนักวิจัยและครูผู้สอนในประเด็น

  • ครูไทยกับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขีวภาพสู่นวัตกรรมด้านการศึกษา
  • ขุมทรัพย์ลุ่มน้ำสงคราม สานต่องานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพด้วยนวัตกรรมด้านการศึกษา
  • ความหลากหลายทางชีวภาพลุ่มน้ำสงคราม: จากผลงานวิจัยเชิงลึกสู่งานวิจัยด้านนวัตกรรมทางการศึกษา

รูปภาพเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.465529416051976&type=3

ติดต่อเรา