ปรัชญา
มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานแห่งคุณธรรม ร่วมชี้นำการพัฒนาท้องถิ่นและสังคม
วิสัยทัศน์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นครูของแผ่นดิน พัฒนาท้องถิ่นสู่สากลด้วยนวัตกรรม
คำอธิบายวิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นแหล่งสรรพวิชาของชุมชนท้องถิ่นและประเทศที่พร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้และนำสู่การถ่ายทอดสู่สังคมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมเข้าสู่สากลทั้งนี้ใช้นวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการตามพันธกิจ
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 – 2569)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นแหล่งสรรพวิชาบนพื้นฐานการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
คำอธิบายวิสัยทัศน์
หมายถึง ความหลากหลายของศาสตร์หรือองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครมีความพร้อมในการจัดการศึกษาและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ และระดับสากล
ค่านิยมหลัก
“ร่วมคิด ร่วมใจ ร่วมทำหน้าที่ อย่างมีความสุข” (4 H’s, ประกอบด้วย Head, Heart and Hand for Healthy Organization)
Head หมายถึง ร่วมคิิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ได้ข้อสรุปทิศทางร่วมกัน
Heart หมายถึง มีจิตวิญญาณร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
Hand หมายถึง ร่วมทำ ร่วมทำหน้าที่ ร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจองค์กร
Healthy Organization หมายถึง องค์กรสุขภาพดี องค์กรแห่งความสุข
อัตลักษณ์
“บัณฑิตเป็นคนดี มีจิตสาธารณะ และทักษะวิชาชีพ”
เอกลักษณ์
“มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการให้โอกาส”
ภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีดังต่อไปนี้
- แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล
- ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรมสำนึกในความเป็นไทยมีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่นอีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนเพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงการผลิตบัณฑิตดังกล่าวจะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ
- เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าความสำนึกและความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
- เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนผู้นำศาสนาและนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตยคุณธรรมจริยธรรมและความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
- เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครูผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
- ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัยชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
- ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นรวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
- ศึกษาวิจัยส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น